ในยุคปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิทัลนี้ การทำการตลาดและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางออนไลน์ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อทุกธุรกิจต้องการแย่งชิงพื้นที่สื่อบนโลกโซเชียล การสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและตรงใจกลุ่มเป้าหมาย จึงกลายเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักการตลาดและเจ้าของธุรกิจ
ซึ่งถ้าคุณอยากจะปั้นแบรนด์ให้ดังใน Social Media เพื่อมัดใจลูกค้า จะไม่รู้จักสิ่งนี้ไม่ได้! นั่นก็คือกลยุทธ์ Content Pillar หรือ "เสาหลักคอนเทนต์" ซึ่งเปรียบเสมือนเข็มทิศนำทาง ช่วยให้คุณสามารถจัดระเบียบหัวข้อคอนเทนต์ พัฒนาเนื้อหาที่ตรงประเด็น ดึงดูดผู้เข้าชม และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้นั่นเอง
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ Content Pillar ว่าคืออะไร พร้อมเจาะลึกวิธีการสร้าง และตัวอย่างการประยุกต์ใช้จาก Oho Chat แบบเข้าใจง่าย เพื่อให้แบรนด์ของคุณสามารถสร้างคอนเทนต์ได้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย พร้อมเปิดประตูสู่หัวใจลูกค้าหลังอ่านบทความจบ!
Content Pillar หรือ "เสาหลักคอนเทนต์" คือ เป็นกลยุทธ์การสร้างหัวข้อของคอนเทนต์หรือหมวดหมู่คอนเทนต์ที่ใช้เป็นแนวทางในการสร้างและจัดการคอนเทนต์เพื่อการตลาดดิจิทัล เปรียบเสมือนหัวข้อหลักกว้าง ๆ ที่ครอบคลุมเนื้อหาคอนเทนต์ของเรา ใช้ได้กับคอนเทนต์ทุกประเภท โดยมีจุดประสงค์เพื่อกำหนดเนื้อหาคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์และเป้าหมายของแบรนด์
ปัญหาที่เห็นได้ชัดก็คือ หลายแบรนด์ในปัจจุบันโดยเฉพาะแบรนด์ขนาดเล็ก ยังคงทำการตลาดแบบขอไปทีอยู่ ทำคอนเทนต์ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีกลยุทธ์ (Strategy) หรือการวางแผนหัวข้อที่ชัดเจน การใช้ Content Pillar จึงสามารถช่วยคุณได้ เพราะเมื่อเราทราบว่าคอนเทนต์ที่กำลังจะทำอยู่ใน Content Pillar ชนิดไหน ก็จะช่วยให้สามารถรวางแผนเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
1. ทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมาย
ก่อนอื่น ธุรกิจจำเป็นต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างถ่องแท้ให้ได้เสียก่อน หาให้เจอว่าคุณต้องการทำคอนเทนต์เพื่อใคร คนแบบไหนคือคนที่จะมาดูเนื้อหาของคุณ
โดยสามารถทำได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลประชากร พฤติกรรม ความสนใจ ความต้องการ และจุดปวด (Pain Point) ของกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะใช้ข้อมูลที่คุณมีอยู่แล้ว หรือหาข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ เช่น การทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ใช้เว็บไซต์วิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้าง การจำลองตัวตนลูกค้า (User Persona) เพื่อให้เข้าใจลักษณะของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นนั่นเอง
2. กำหนดเป้าหมายทางธุรกิจที่ใฝ่ฝัน
ทุกธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายในการทำคอนเทนต์ที่ชัดเจน เพราะเป้าหมายเหล่านี้จะช่วยนำทางธุรกิจไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง เราจะแบ่งเป้าหมายออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
3. วิเคราะห์คู่แข่งในตลาด
การวิเคราะห์คู่แข่งคือการศึกษาคู่ต่อสู้ โดยเริ่มจากทำการระบุคู่แข่งหลัก ศึกษาว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันมีรายใดบ้าง และคู่แข่งเหล่านั้นจุดแข็ง จุดอ่อน กลยุทธ์ และลักษณะคอนเทนต์เป็นอย่างไร การวิเคราะห์นี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการทำคอนเทนต์ เพราะจะช่วยให้เรานำข้อมูลมาพัฒนากลยุทธ์ที่เหนือกว่าได้
4. เริ่มระดมสมองกำหนด Content Pillar!
และแล้วก็มาถึงขั้นตอนสำคัญ คือการร่วมมือกันระเบิดไอเดียเพื่อหา Content Pillar ที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้งานจริงนั่นเอง โดยหัวข้อของ Content Pillar ที่กำหนดขึ้นควรสอดคล้องไปกับเป้าหมายหลักและเป้าหมายย่อยที่เราตั้งไว้ด้วย ในการระดมสมอง (Brainstorming) สามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น
เมื่อได้ไอเดียหัวข้อของเสาหลัก Content Pillar เรียบร้อยแล้วให้เราทำการเลือกหัวข้อที่ต้องการนำมาใช้ได้เลย
1. Educative - เสาหลักเนื้อหาที่มุ่งเน้นคอนเทนต์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภค นำเสนอสิ่งที่ผู้ชมไม่ทราบมาก่อน สำหรับ Oho Chat เรามุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับการตลาดดิจิทัล และการพัฒนาธุรกิจยุคใหม่ คอนเทนต์ในเสาหลักนี้ส่วนใหญ่จะเป็น Evergreen Content ที่สามารถสร้างการรับรู้ (Awareness) ได้ในระยะยาว
ตัวอย่างคอนเทนต์ เช่น ทำไม SMEs ไทยต้องให้ความสำคัญกับ CRM, Value Proposition คืออะไร, ระบบ IVR (Interactive Voice Response) คืออะไร? คล้ายกับแชทบอทตรงไหน?
2. Emphaty - เสาหลักเนื้อหามุ่งเน้นคอนเทนต์ที่สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ผ่านการศึกษา Persona ของเป้าหมาย แล้วใช้จุดปวด (Pain Point) ของลูกค้ามาดึงดูดความสนใจ คอนเทนต์ในเสาหลักนี้จะช่วยเพิ่ม การรับรู้ (Awareness) + จำนวนคนเข้าชมเว็ปไซต์ (Traffic) ได้
ตัวอย่างคอนเทนต์ เช่น คุณเป็นเมเนเจอร์ที่คุมลูกน้องไม่อยู่หรือเปล่า ใช้โอ้โหแชทช่วยวัดผลได้!, How to ตอบแชทให้เร็วขึ้น สำหรับธุรกิจที่ปิดการขายผ่านแชท, เคยไหม? หาลูกค้ามาแทบตายตกม้าตายที่แอดมิน
3. Advocacy - เสาหลักเนื้อหามุ่งเน้นคอนเทนต์ที่ช่วยเพิ่มอัตราการตัดสินใจให้ลูกค้าใหม่ ผ่านการนำเสนอความสำเร็จของลูกค้าเก่า ให้ผู้อ่านรู้สึกว่าถ้าเขาใช้แล้วจะเกิดประโยชน์เหมือนข้อมูลที่เรานำเสนอ
ตัวอย่างคอนเทนต์ เช่น การนำเสนอ Case Study ของลูกค้าที่มาใช้บริการเรา, Oho Chat x วิถีชาวเกาะ ลูกค้าทักมาวันละพันแชทจัดการหลังบ้านอย่างไร?, Oho Chat x Fastship เมื่อโอ้โหแชทเปิด API เชื่อมได้ทุกระบบที่คุณต้องการ
4. Announcement - เสาหลักเนื้อหามุ่งเน้นคอนเทนต์ที่นำเสนอฟีเจอร์ คุณสมบัติ หรือเป็นการอัปเดตผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของแบรนด์ให้ผู้อ่านรับรู้
ตัวอย่างคอนเทนต์ เช่น สรุปฟีเจอร์ใหม่ Oho Chat ประจำปี 2023 ระบบจัดการแชท ต้องโอ้โหแชท, ฟีเจอร์คลังสื่อ คลังคำตอบ Oho Chat ทำงานอย่างไร?, การใช้ Oho Chat เชื่อมต่อ Contact กับระบบ CRM ภายนอก เช่น Zoho Salesforce ฯลฯ
5. Inspirational - เสาหลักเนื้อหามุ่งเน้นคอนเทนต์ที่สร้างการรับรู้และเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่แบรนด์ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านรู้สึกอยากทำตาม ทำได้โดยการนำบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือมาเป็นผู้นำเสนอ
ตัวอย่างคอนเทนต์ เช่น การให้ CEO มาเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับวิธีประสบการณ์ลูกค้า, เจาะลึกกลยุทธ์ H.E.A.R.D ที่ Disney ใช้ในการรับมือกับลูกค้าที่ไม่พอใจในการบริการ
6. Contextual - เสาหลักเนื้อหามุ่งเน้นคอนเทนต์ที่อ้างอิงและสอดคล้องกับกระแสสถานการณ์ ณ ตอนนั้น เน้นสิ่งที่เป็นกระแสชั่วคราว ต้องทำคอนเทนต์ให้เร็วเพื่อเกาะกระแส
ตัวอย่างคอนเทนต์ เช่น อยากขายดีช่วงโควิด-19 ทำอย่างไรดี, เฉาก๊วยกินแล้วคันแต่โอ้โหแชทใช้แล้วสบายตัวแน่นอน
7. Seasonal - เสาหลักเนื้อหามุ่งเน้นคอนเทนต์ที่อ้างอิงและสอดคล้องกับเทศกาล ณ ตอนนั้น
ตัวอย่างคอนเทนต์ เช่น วันลอยกระทง ไม่มีแอดมินตอบแชทโอ้โหช่วยได้!, สงกรานต์นี้ยิงแอดฉ่ำไม่บ้งถ้าใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากโอ้โหแชท, ปีใหม่หยุดยาวนี้ ใช้แชทบอทช่วยตอบ ลูกค้าไม่หลุดมือแน่นอน
8. Behind-the-Scenes Content - เสาหลักเนื้อหามุ่งเน้นคอนเทนต์ที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานเบื้องหลัง การผลิต หรือกระบวนการทำงานของธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความใกล้ชิดระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย
ตัวอย่างคอนเทนต์ เช่น พาไปดูเบื้องหลังของทีมดูแลลูกค้าที่ Oho Chat, เปิดหลังบ้านส่องเบื้องหลังความสำเร็จ
เมื่อเรามีหัวข้อ Content Pillar ที่ดีแล้ว สิ่งต่อไปคือการนำมาใช้จริง ไปเริ่มกันเลย
หากเปรียบธุรกิจเป็นบ้าน หัวข้อเสาหลัก Content Pillar คงเปรียบเสมือนห้องแต่ละห้อง หากต้องการสร้างบ้านที่ดีการกำหนดสัดส่วนของห้องแต่ละประเภทก็เป็นสิ่งสำคัญใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้น เราจะต้องทำการแบ่งสัดส่วนของเสาหลัก Content Pillar ว่าต้องการจะทำคอนเทต์แต่ละหัวข้อในสัดส่วนเท่าไหร่บ้าง จะลงคอนเทนต์แต่ละหัวข้อกี่ครั้งต่อเดือน จากนั้นดำเนินงานสร้างคอนเทนต์ตามสัดส่วนหัวข้อที่วางไว้
เมื่อทำคอนเทนต์ตามสัดส่วน Content Pillar ที่วางไว้แล้วอย่าลืมติดตามผลการทำงาน เพื่อดูว่าคอนเทนต์ที่เรานำเสนอไปได้ผลดีหรือไม่ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงพัฒนาหัวข้อหรือสัดส่วน Content Pillar ที่มีอยู่ เพียงเท่านี้แบรนด์ของคุณก็จะสามารถสร้างคอนเทนต์ที่มัดใจลูกค้าได้แล้ว!
หากคุณคิดที่จะนำกลยุทธ์ Content Pillar ไปใช้แล้วละก็ สิ่งหนึ่งที่ควรทำควบคู่กันคือการเตรียมระบบหลังบ้านให้ดี! เพราะเมื่อมีคอนเทนต์ที่ดี แน่นอนว่าลูกค้าทักแชทเข้ามาอย่างถล่มทลาย แต่ถ้าวางระบบหลังบ้านไม่ดี จัดการระบบแชทไม่ได้เรื่อง ลูกค้าที่หามาได้ก็ต้องหลุดมือไปอย่างแน่นอน
ดังนั้น เราขอแนะนำ Oho Chat ระบบจัดการแชทบริการลูกค้าพัฒนาโดยคนไทย รวบรวมแชทบริการลูกค้าและพัฒนาทีมแอดมินครบจบในที่เดียว เรามีฟังก์ชั่นมากมายที่จะช่วยยกระดับการตอบแชทของคุณ พร้อมสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ดี เช่น
และฟีเจอร์อื่น ๆ ที่จะช่วยให้การแชทคุยกับลูกค้าเป็นเรื่องง่าย แชทจะเยอะแค่ไหนก็เอาอยู่ สร้างความประทับใจแก่ประสบการณ์ลูกค้าในทุก ๆ ขั้นตอน
เริ่มต้นแค่เดือนละ 500 บาทเท่านั้น! แถมยังสามารถทดลองใช้งานได้ฟรี 14 วัน โดยไม่ต้องผูกบัตรเครดิตให้ยุ่งยากและกังวล แถมยังสามารถเพิ่มจำนวนแอดมินได้ไม่จำกัดอีกเช่นกัน
สำหรับใครที่อยากรู้จักเราเพิ่มเติมสามารถคลิก >> ทดลองใช้ฟรี ได้เลย
พร้อมคู่มือการตอบแชทลูกค้าของ Oho Chat ใช้งานง่ายไร้กังวล >> https://help.oho.chat/