ในบทความวันนี้ โอ้โหเลยอยากมาเล่าให้ฟังถึง 6 ปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่เจ้าของกิจการทุกคนควรเตรียมรับมือไว้ก่อนเนิ่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งอุปสรรคและโอกาสในการทำธุรกิจ จะได้ไม่เกิดเหตุการลูกค้าหาย ยอดตก ธุรกิจซบเซาจนต้องนั่งตบยุงแบบหงอยๆ โดยโมเดล PESTEL Analysis ประกอบไปด้วย 6 ปัจจัย ในด้านต่างๆ ตามด้านล่าง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เครื่องมือการวางแผนกลยุทธ์อื่นๆ เช่น SWOT analysis ได้เช่นกัน
คือปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวกับการเมือง ความมั่นคงของรัฐบาล นโยบายของรัฐบาลที่ออกโดยประเทศที่ทำธุรกิจ ปัจจัยภาษี ปัญหาคอรัปชั่น ข้อจำกัดทางการค้า เสถียรภาพทางการเมืองว่ามีการประท้วง ปิดถนน กระบวนการทำงานและระยะเวลารอคอยของราชการที่ส่งผลให้การขอเอกสาร จดทะเบียนต่างๆ ที่เชื่อช้า ทั้งหมดนี้สามารถกระทบธุรกิจของเราได้หมด ดังนั้นการจะวางแผนธุรกิจใดๆ ก็ตามควรจะคำนึงด้วยว่านโยบายเศรษฐกิจการเมือง ณ ตอนนั้นว่าจะส่งผลดีหรือร้ายต่อธุรกิจของเราหรือไม่
ตัวอย่างที่น่าสนใจ
ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์และการเงินนั้นเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญลำดับต้นๆ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจ ทั้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ดอกเบี้ยธนาคาร ราคาน้ำมัน ราคาหุ้น ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ อัตราว่างงานที่สะท้อนกำลังซื้อของผู้บริโภค
ตัวอย่างที่น่าสนใจ
ปัจจัยทางสังคมที่ควรจะนำมาพิจารจาณาในการทำธุรกิจมีมากมาย เพราะ Social norm นั้นส่งผลถึงพฤติกรรมผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น โรคภัยระบาด Covid-19 จำนวนประชากร อัตราการเสียชีวิต อายุขัยเฉลี่ยประชากร ทัศนคติในเรื่องอาชีพ มุมมองของประชาชนต่อรัฐบาล ทัศนคติต่อการใช้ชีวิต วัฒนธรรมต่างๆ
ธุรกิจที่ค้าขายต่อผู้บริโภคโดยตรง(B2C) นั้นอาจจะกระทบมากกว่าและเร็วกว่าธุรกิจที่ขายให้ธุรกิจอื่น (B2B) แต่ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจ B2B จะมองข้ามปัจจัยทางสังคมไปอย่างสิ้นเชิง เพราะปัจจัยเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบทางอ้อมกับธุรกิจเป็นห่วงโซ่ได้เช่นกัน
ตัวอย่างที่น่าสนใจ
ปัจจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่นำมาวิเคราะห์ว่าเกี่ยวข้องกับธุรกิจเรามากน้อยแค่ไหน เช่นการพัฒนาของเทคโนโลยี เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร นวัตกรรมใหม่ๆ การเข้ามาของดิจิทัลและ AI
ตัวอย่างที่น่าสนใจ
ปัจจัยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลกระทบต่อระบบนิเวศต่อธุรกิจ ซึ่งปัจจัยนี้มักจะโดนมองข้ามบ่อยๆ เพราะอาจจะดูไม่สำคัญเท่าปัจจัยอื่นที่กล่าวมาข้างต้น หลายธุรกิจจึงไม่ได้มีการเตรียมการวางแผนไว้ก่อน เพราะมองข้ามโอกาสที่จะเกิด ทำให้เตรียมป้องกันได้ช้า พอเวลามีเหตุฉุกเฉิน อาทิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ น้ำท่วม สึนามิ ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลงอย่างน่าเสียดาย
ซึ่งปัจจุบันเราให้ความสำคัญเกี่ยวกับดูแลรักษาโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ธุรกิจที่เป็น Environmental friendly จึงเริ่มได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ปัจจัยนอกเหนือจากภัยพิบัติที่เจ้าของธุรกิจควรจะคำนึงถึงคือ กฏหมายด้านสิ่งแวดล้อม ทัศนคติของคนที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ โลกร้อน มลพิษ เพื่อให้เห็นถึงขอบเขต และแนวทางในการทำธุรกิจที่ชัดเจนมากขึ้น
ตัวอย่างที่น่าสนใจ
ปัจจัยเรื่องกฏหมายนั้นมักจะต้องนำมาประเมินควบคู่ไปกับปัจจัยทางการเมือง ในการดำเนินการทางกฏหมายแต่ละประเทศนั้นต่างกันไป กรณีที่เห็นชัดที่สุดคืออย่างกัญชา ที่สมัยก่อนประเทศเราถือว่า
ผิดกฏหมาย ตอนนี้ผ่อนปรนให้ทั้งภาคเอกชนและรัฐสามารถใช้ผลผลิตจากกัญชาได้ แต่ก็มีข้อบังคับที่จำกัด ดังนั้นการจะทำธุรกิจเสนอขายบริการหรือสินค้าใดจำต้องคำนึงถึงกฏหมายเฉพาะถิ่นเป็นหลัก นอกจากนี้กฏหมายในที่นี้ยังรวมไปถึงกฏหมายแรงงาน กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฏหมาย กฏหมายเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตต่างๆ กฏหมายต่อต้านการผูกขาด กฏหมายลิขสิทธิและสิทธิบัตร กฏหมายเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย
ตัวอย่างที่น่าสนใจ
จะเห็นได้ว่าการนำโมเดลกลยุทธ์ PESTEL มาปรับใช้กับธุรกิจ สามารถช่วยวิเคราะห์ทั้งก่อนการออกกลยุทธ์ในแคมเปญโครงการต่างๆ หรือการออกไลน์สินค้าและบริการใหม่ๆ ให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
ซึ่งเวลานำแต่ละปัจจัยมาวิเคราะห์เราควรนำทั้งแง่ดี(โอกาส) และแง่ร้าย(อุปสรรค) มาช่วยกันประมวลผลเพื่อจะได้วางแผนธุรกิจได้อย่างรอบคอบ อุดทุกช่องโหว่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
อ้างอิง
https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/strategy/pestel-analysis/
https://pestleanalysis.com/what-is-pestle-analysis/
https://www.analyticssteps.com/blogs/what-pestle-analysis