เคยไหม เข้าไปใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันใด แต่ได้รับประสบการณ์แย่ ๆ จนใช้แป๊บเดียวก็ต้องลด ละ เลิก! ลบแอปทิ้งไปเพราะใช้ยากเกินความพยายามที่จะทำความเข้าใจมัน พยายามแล้วนะ แต่เข้าไปทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ไม่สำเร็จ ทั้ง ๆ ที่ตอนแรกตั้งใจเข้าไปซื้อของหรือสมัครบริการบางอย่างแท้ ๆ แต่พอจะใช้งานจริงก็ต้องตัดใจ
ถ้าไม่อยากให้ลูกค้าของคุณได้รับประสบการณ์แย่ ๆ แบบนี้ ลองอ่านบทความนี้ที่จะพาให้คุณไปทำความเข้าใจกับ User Experience (UX) และ User Interface (UI) แบบฉบับที่ไม่ต้องเป็นนักออกแบบก็ต้องรู้ไว้ เพราะ UX&UI ที่ดีจะสร้างจุดแข็งให้กับธุรกิจของคุณและทำให้คุณปิดการขายได้มากขึ้นอีกด้วย
ความรู้เรื่อง UX และ UI มักเกี่ยวข้องกับสินค้าที่เป็นดิจิทัลเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือซอฟท์แวร์ต่าง ๆ แต่หลักคิดเรื่อง UX และ UI ก็สามารถนำไปปรับใช้กับสินค้าประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าใด ๆ ที่จับต้องได้ หน้าร้าน ร้านค้าของเราหรือปรับใช้กับสินค้าประเภทบริการได้เช่นกัน
ในวงการ UX & UI เรามักจะเรียกลูกค้าของเราว่า “User” หรือผู้ใช้งานสินค้าของเรานั่นเอง UX จะพูดถึงการการออกแบบประสบการณ์ที่ผู้ใช้จะได้รับในทุก ๆ มุม หลักการพื้นฐานของ User Experience จะมีดังนี้
ส่วนการออกแบบ UI จะพูดถึงหน้าตาทุกอย่างที่ผู้ใช้จะได้รับรู้ถึงมัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าตาของแอปพลิเคชันโดยรวม ปุ่ม การจัดวางองค์ประกอบ การเลือกใช้ฟอนท์หรือสีให้เหมาะสม หลักการพื้นฐานของ User Interface จะมีดังนี้
ในส่วนนี้ เราจะลองยกตัวอย่างการ UX/UI ที่ดีจากในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันดัง ๆ ที่เจ้าของธุรกิจอาจจะเคยได้ยินชื่อมาวิเคราะห์ให้ดูว่า แต่ละที่มีการออกแบบ UX/UI ที่ดีแบบไหนบ้าง เผื่อว่าทุกคนจะนำหลักการดีไซน์ของแต่ละที่มาปรับใช้กับเว็บหรือแอปพลิเคชันของตัวเอง
ในไทยเว็บไซต์ E-commerce ซื้อขายของออนไลน์ส่วนใหญ่เรามักจะคุ้นเคยกับ Shopee หรือ Lazada มากกว่า แต่จริง ๆ แล้วมีอีกหนึ่งเว็บที่เป็นที่นิยมอันดับต้นระดับโลกและมีการออกแบบ UX/UI ที่ดีมาก ทุกคนน่าจะเคยได้ยินชื่อแต่อาจจะไม่เคยใช้งาน นั่นคือ Amazon นั่นเอง
ถ้าเข้าไปที่หน้าแรกของ Amazon โดยที่เป็นการเข้าไปครั้งแรก ผู้ใช้จะรู้ทันทีว่าเราควรจะสมัครสมาชิกดูได้จากปุ่ม “Sign in” ที่ใช้การออกแบบให้เด้งออกมาส่วนอื่น ๆ อย่างชัดเจนและยังมีข้อความเสริมอีกด้วยว่า ถ้าเป็นลูกค้าใหม่ให้เริ่มจากตรงนี้นะ และยังมีกล่องใหญ่ ๆ ทางขวามือเขียนไว้เพิ่มเติมว่าให้ ลงชื่อเข้าใช้เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุด โดยที่ในปุ่มเขียนว่า “Sign in securely” ที่จะช่วยให้ผู้ใช้อุ่นในขึ้นว่า ทางเว็บไซต์ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้ใช้อีกด้วย
นอกจากนั้นด้วยความที่เป็นเว็บไซต์ระดับโลก จึงต้องพร้อมรับลูกค้าจากหลาย ๆ ประเทศ เลยต้องสื่อสารชัดเจนตั้งแต่แรกว่า การซื้อครั้งนี้จะส่งไปที่ประเทศไทยนะ โดยกำหนดสิ่งนี้ไว้ชัดเจนตั้งแต่มุมซ้ายบน อยู่ข้าง ๆ แถบค้นหา เพื่อป้องกันเคสว่า สินค้านี้ที่ดูอยู่มีแต่ไม่ส่งไปไทย หรือราคาที่ขึ้นในเว็บก็จะคำนวณให้อัตโนมัติว่า ส่งไปไทยจะต้องเสียค่าส่งเพิ่มเท่าไหร่
การออกแบบแถบเมนูก็มาจาก Insight ของผู้ใช้ว่า ผู้ใช้มักจะชอบซื้อของลดราคา จึงเอา “Today’s Deals” มาเป็นอันดับแรก ๆ ให้ผู้ใช้หากันง่าย ๆ แต่ว่าถ้าดูจากการจัดวางองค์ประกอบของหน้าเว็บแล้วสิ่งที่ทางเว็บต้องการไม่ใช่การให้คนซื้อของที่ราคาถูกที่สุด แต่เป็นของที่เหมาะกับตัวผู้ใช้มากที่สุดจึงใช้ภาพสินค้าสวย ๆ หรือภาพวิธีการนำสินค้าไปใช้แบบสวย ๆ ในการโฆษณาโดยที่ไม่มีตัวเลขราคาบอกเลย
Canva คือซอฟท์แวร์สำหรับออกแบบกราฟิกที่มี UX/UI ที่ดีมาก เพราะสามารถทำให้ผู้ใช้ที่อาจจะไม่ต้องมีความรู้เรื่องการออกแบบกราฟิกเยอะแต่สามารถสร้างงานกราฟิกที่สวยและดูเป็นมืออาชีพได้ด้วยตัวเอง
Canva มีหน้าตาที่ค่อนข้างสะอาด ไม่รก ดูใช้งานง่าย ใช้สีขาวเป็นหลัก เน้นจุดเด่นด้วยสีม่วง เนื่องด้วย Canva มีเทมเพลตงานกราฟิกให้เลือกมากมาย และเทมเพลตแต่ละชิ้นมีสีสันที่โดดเด่นในตัวเองอยู่แล้ว ถ้าตัว Canva ใช้สีเยอะเกินไปอาจจะทำให้ผู้ใช้สับสนและดึงดูดความสนใจไปได้
สิ่งที่ UX/UI ของ Canva ทำได้ดี คือ การมีเทมเพลตให้ผู้ใช้เลือกมากมายและเทมเพลตซอยย่อยประเภทละเอียดยิบครอบคลุมแทบทุกงานกราฟิกที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าสังเกตจากแถบซ้ายมือจะมีการแบ่งหมวดหมู่ชัดเจน และยังแยกประเภทย่อยให้ละเอียดอีกว่า ผู้ใช้สามารถสร้างอะไรได้บ้าง เช่น หมวด Social Media ก็มีเทมเพลตของทุกแพลตฟอร์ม Social Media ทั้ง Instagram, Facebook และ TikTok Video
การจัดวางลำดับของเทมเพลตก็มีความสำคัญ Canva สามารถแนะนำได้คร่าว ๆ ว่าเราอาจจะชอบเทมเพลตอะไรสำหรับคนที่เข้ามามองหาไอเดียใหม่ ๆ หรืออะไรที่เป็นเทรนด์อยู่ในตอนนี้
ทีม Oho Chat เองก็เป็นอีกหนึ่งทีมที่ใส่ใจในการออกแบบ UX/UI ให้ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานหลักของ Oho Chat คือแอดมินที่จะเข้ามาตอบแชทจากช่องทางต่าง ๆ และยังใช้เครื่องมือเสริมต่าง ๆ เพื่อจัดการแชทลูกค้าได้อย่างง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด
Insight คือ ทุกวันนี้ลูกค้าธุรกิจจะทักเข้ามาได้จากหลายช่องทางและแอดมินต้องทำงานกันเป็นทีม เพราะฉะนั้นหน้า Interface ของฟีเจอร์แชทจะต้องทำให้ผู้ใช้เห็นได้ชัดเจนว่า แชทนี้มาจากช่องทางไหนและแอดมินคนไหนกำลังดูแลแชทของลูกค้าคนนี้อยู่ ดูได้จากแถบบนซ้ายสุดที่เขียนชัดเจนว่า ตอนนี้แชททั้งหมดที่กำลังดูมาจากช่องทางไหนบ้าง
ห้องแชทถูกแบ่งประเภทออกเป็นห้องแชทที่อาจจะดูแตกต่างจากซอฟท์แวร์ตอบแชทอื่น ๆ โดยที่มีการแบ่งประเภทตามการใช้งานอย่างชัดเจนเช่น “แชทที่ต้องการความช่วยเหลือ” “แชทที่มีแอดมินกำลังดูแล” เพราะว่าแอดมินอาจจะไม่ได้ต้องเข้าไปดูทุกแชทที่เข้ามา แต่เข้าไปดูแชทที่สำคัญที่ต้องการการดูแลของแอดมินก็พอ
นอกจากนั้นยังมีแถบข้อมูลลูกค้าขึ้นไว้อย่างชัดเจนในฝั่งขวามือ เพราะว่าประวัติลูกค้ามีความสำคัญมากสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ถ้าแอดมินได้รู้ว่าลูกค้าที่กำลังอยู่เป็นใคร เคยมีประวัติกับธุรกิจอย่างไร ก็ทำให้สามารถเลือกใช้คำตอบที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนได้ดีที่สุด
.
แชทที่รอการตอบ จะมีสถานะชัดเจนสีแดงว่า “เรียกแอดมิน” โดยที่สิ่งที่ผู้ใช้จะต้องทำคือเข้ามากด “รับแชท” ให้เร็วที่สุด โดยที่มีขึ้นเวลาให้ดูด้วยว่า แชทนี้ถูกทิ้งไว้นานเท่าไหร่แล้ว เพราะหลักการแรกในการตอบแชทลูกค้าคือต้องตอบรับแชทให้ไวที่สุด เพื่อให้ลูกค้าไม่หลุดไปที่ร้านค้าอื่น
นอกจากนั้น Oho Chat ยังมีระบบแชทบอทที่เป็นผู้ช่วยเสริมที่จะตอบบางแชทให้ จึงต้องใส่สถานะให้ชัดเจนว่า ตอนนี้แชทบอทกำลังทำงานหรือหยุดทำงานแล้ว เพื่อให้แอดมินมนุษย์ทราบว่าตัวเองต้องเข้ามาแทรกตอบในแชทนี้หรือไม่
ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจได้ลองทำความเข้าใจในเชิงการออกแบบ UX/UI เท่านั้น จะเห็นว่าทุก ๆ การออกแบบไม่ว่าจะเป็นแค่ปุ่มหนึ่งปุ่ม ข้อความในเว็บ หรือประสบการณ์การใช้งานในสินค้าดิจิทัลล้วนมาจากการออกแบบที่โฟกัสไปที่กลุ่มผู้ใช้งานหลักของสินค้าทั้งสิ้น
ศาสตร์ของ UX/UI ยังมีให้เรียนรู้อีกมากมาย มีทั้งเครื่องมือ กระบวนการ แนวคิดในการออกแบบ UX/UI ให้ดี เจ้าของธุรกิจที่สนใจต้องลองไปศึกษาเพิ่มเติมดู แต่ถ้าเจ้าของธุรกิจที่อ่านบทความนี้จบแล้วอยากรู้ว่าจะเริ่มนำความรู้ในเชิง UX/UI ไปปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจของตัวเองได้อย่างไร ก็อาจจะลองดูแนวทางคร่าว ๆ ได้ดังนี้
เจ้าของธุรกิจต้องเข้าใจว่าลูกค้าของเราเป็นใคร มีปัญหาอะไรในชีวิต มีความต้องการ มีพฤติกรรมอย่างไร เพื่อที่จะออกแบบสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าให้ดีที่สุด โดยที่เจ้าของธุรกิจอาจจะลองเริ่มจากการทำ UX Research หรือการทำวิจัยในเชิง User Experience ที่มีเครื่องมือหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำ User Journey การวิจัยเส้นทางการใช้งานของลูกค้า
นอกจากนั้นแล้วในเชิงการออกแบบ UX/UI ก็จะออกแบบเพื่อป้องกันประสบการณ์แย่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างลูกค้ามาใช้บริการอีกด้วย โดยนักออกแบบต้องออกแบบล่วงหน้าไม่ให้ลูกค้าต้องเจอประสบการณ์เลวร้ายที่อาจจะทำให้เขาเลิกใช้บริการหรือถ้าเกิดความผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะต้องมีการซัพพอร์ตหรือมีวิธีแก้ไขปัญหานั้นได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากที่สุด
อีกหนึ่งเหตุผลที่ UX/UI มาแรงในวงการสินค้าดิจิทัลคือเราสามารถเก็บและนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกดิจิทัลมาใช้งานได้ เพราะทุก ๆ จุดที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ถือเป็นข้อมูลทั้งสิ้น โดยเจ้าของธุรกิจอาจจะเริ่มจากการหาวิธีเก็บข้อมูลสำคัญมาวิเคราะห์ ดูรูปแบบพฤติกรรมของลูกค้าเดิม ทำนายอนาคตและยังใช้ข้อมูลต่าง ๆ เป็นตัววัดผลว่ากลยุทธ์ที่ทำลงไปสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกหรือลบให้กับธุรกิจบ้าง
หลักหนึ่งของการทำ UX/UI คือ ให้ทำของให้เสร็จไว ๆ เพื่อที่จะได้นำไปทดลองและรับฟีดแบคให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะลองลงทุนกับการทำอะไรใหม่ ๆ คุณสามารถลองสร้างแบบจำลองของสิ่งนั้นขึ้นมาคร่าว ๆ แล้วนำสิ่งนั้นไปทดลองถามกับตัวแทนผู้ใช้งานกลุ่มเล็ก ๆ ก่อน เมื่อได้รับฟีดแบคแล้ว ก็นำฟีดแบคเหล่านั้นไปพัฒนาของสิ่งนั้นอีกครั้ง สามารถวนทำขั้นตอนเหล่านี้ได้ซ้ำ ๆ จนมั่นใจว่าตรงกับความต้องการของลูกค้าแล้ว ก่อนที่จะลงทุนกับการสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาจริง ๆ แล้วมาพบทีหลังว่า ลูกค้าอาจจะไม่ได้ต้องการสิ่งนี้เลย
สรุปแล้วคีย์หลักที่อาจจะนำ UX/UI ไปเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจของคุณ ก็คือ การรู้จักลูกค้าของคุณให้ดีที่สุด รู้ว่าเขาต้องการสินค้าอะไร บริการแบบไหน สร้างประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าของธุรกิจมากที่สุดและป้องกันไม่ให้เกิดประสบการณ์แย่ ๆ ในธุรกิจของคุณเอง นอกจากนั้นคือการนำข้อมูลที่เกิดขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทดสอบ รับฟีดแบคและปรับปรุงสินค้าและบริการของธุรกิจให้ดีเยี่ยมอยู่เสมอ
ทีมงาน Oho Chat เก็บฟีดแบคจากผู้ใช้ ศึกษาการทำงานของแอดมิน และพัฒนาปรับปรุงซอฟท์แวร์ของเราอยู่เสมอ หากเจ้าของธุรกิจคนใดกำลังมองหาตัวช่วยมาจัดการแชทลูกค้าที่ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ มีความสามารถหลากหลายที่เจ้าของธุรกิจต้องการ ทั้งรวมแชทหลายช่องทาง มีระบบให้แอดมินทำงานคนเดียวก็ได้ ทำงานเป็นทีมก็ง่าย มีแชทบอท มีการเก็บสถิติข้อมูลเกี่ยวกับแชทที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ รวมไว้ทั้งหมดแล้วใน Oho Chat ที่เดียว
ทดลองใช้ระบบของเราฟรีได้แล้ววันนี้เป็นเวลา 14 วัน พร้อมทีมซัพพอร์ตคนไทยที่จะคอยดูแลธุรกิจของคุณตลอดการใช้งาน